ลงพื้นที่เดินรณรงค์เชิญชวนประชาชนในเขตจอมทองร่วมขอขมาพระแม่คงคา ด้วยการรักษาความสะอาดคูคลอง
จากสถิติขยะกระทงที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า สถิติในการการใช้กระทงจากโฟมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีจำนวนที่สูงและเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอยู่โดยในปี 2561 ที่ผ่านมาพบว่ามีการใช้กระทงจากโฟมอยู่ 44,883 ใบ
ในการรณรงค์ชาวบ้านให้การตอบรับที่ดี และหลายคนเพิ่งทราบว่ากระทงที่ทำจากโฟมนั้นใช้เวลาย่อยสลายนาน ทำให้มีความตื่นตัวในการสอบถามข้อมูลการย่อยสลายของกระทงที่ใช้วัสดุต่างๆ มาจัดทำ ซึ่งข้อมูลที่รับรู้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการช่วยกันรักษาคูคลองให้สะอาด ด้วยการลด ละ เลิกใช้กระทงที่ทำจากโฟมและกระดาษ หันมาใช้วัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้แม่น้ำคูคลองไม่เน่าเสียและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำด้วย
สำหรับเทศกาลลอยกระทงในปีนี้มาร่วมรณรงค์ให้คนไทยและนักท่องเที่ยวหันมาเน้นใช้หลักการ 3R คือ “ใช้น้อย” (Reduce) การลดขนาดของกระทงที่ใช้ ลดจำนวนชิ้น ใช้วัสดุธรรมชาติในการตกแต่งกระทง เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรและช่วยลดปริมาณขยะ “ใช้ซ้ำ” (Reuse) การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ซ้ำ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้ม และสุดท้าย “แปรรูปใช้ใหม่” (Recycle) การนำกระทงที่เก็บรวบรวมมาใช้ประโยชน์ โดยกระทงจากวัสดุธรรมชาติจะนำมาใช้ในการหมักปุ๋ยต่อไป
#พรรคพลังประชารัฐ เราให้ความสำคัญกับการรักษาวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เทศกาลลอยกระทงเป็นประเพณีที่งดงาม แต่แม่น้ำคูคลองก็มีความสำคัญไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางคมนาคมเท่านั้น แต่ยังผูกพันกับวิถีของชุมชน จึงต้องร่วมใจกันขอขมาพระแม่คงคาด้วยการไม่ทำร้าย สร้างขยะที่ทำให้น้ำเน่าเสีย รวมถึงรักษาความสวยงามของคูคลอง ดังนั้นจึงต้องช่วยรณรงค์ให้ใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม