น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือ จากผลการศึกษายังพบว่า ผู้ใช้งานที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับวาทกรรมนี้ มาจากประเทศไทยเพียงร้อยละ 11.6 หรือประมาณกว่าแสนคนเท่านั้น ที่เหลือมาจากนอกประเทศไทย เช่นเดียวกับในช่วงที่ปั่นกระแสยอดสูงสุดของข้อความการเมืองที่ว่า #ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส มีผู้ใช้อยู่ในประเทศไทยเพียงร้อยละ 11.3 เท่านั้น ยิ่งชัดเจนว่า มีการอาศัยนอกประเทศ หรือต่างชาติในการปั่นกระแส
จากผลวิจัยถึงแม้จะมีกระแสจากต่างชาติมาช่วยพยุงในโลกโซเชียลของแคมเปญ ถึง ร้อย 88.7 แต่กระแสโลกจริงกลับแผ่วอย่างหนัก และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ยังอดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า ในกิจกรรมที่ผ่านมาของพวกที่ใช้สร้างกระแสนั้น อาจอาศัยเสียงในโซเชียลจากต่างชาติ เข้ามาบิดเบือนสร้างความชอบธรรม รองรับในการดำเนินการทากาารเมืองต่างๆด้วยหรือไม่ ทำให้สังคม โดยเฉพาะน้องๆเยาวชนอาจเข้าใจไขว้เขว หรืออาจได้รับข้อมูลจากกระแสปลอมๆ ไปด้วย
“เชื่อว่าผลการศึกษาที่ออกมา จะทำให้ประชาชนทั้งในและนอกโซเชียลไทยตาสว่างมากขึ้น ไม่ตกเป็นทาสความคิดที่ปลุกระดม และอาจมีความพยายามใช้ต่างชาติปั่นกระแสให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกภายในประเทศก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนั้นจริงก็อยากฝากถึง “นายกโซเชียล” ว่า อย่าทำร้ายประเทศไทยเลย ประเทศไทยกำลังมีมหาวิกฤตรอบด้าน เรื่องเร่งด่วนคือมาร่วมมือกันฟื้นตัวเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องอื่นๆ” น.ส.ทิพานัน ระบุ