📌 มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 มีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่
1.1 มาตรการช้อปดีมีคืน ปี 2565
หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565
โดยไม่รวมถึงค่าสินค้าและบริการบางชนิด เช่น ค่าสุรา เบียร์ และไวน์ ค่ายาสูบ ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าบริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักในโรงแรม ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3509 3529 3536 3525
1.2 มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย
ลดค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 2 ลงเหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าธรรมเนียมการจำนองจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด
ทั้งนี้ มาตรการจะมีผลบังคับใช้สำหรับการโอนและจดจำนองตั้งแต่วันถัดจากวันที่เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3513 3548 3521 3508
2. มาตรการลดภาระผู้ประกอบการและ/หรือประชาชน ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่
2.1 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
ให้สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ขายสุรา ยาสูบ ไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลา 1 ปี เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตขายรายเดิมซึ่งได้รับผลกระทบที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบและไพ่ต่อเนื่องในปีถัดไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมสรรพสามิต โทร. 02 241 5600 ต่อ 521201
2.2 มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น
ลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศเหลือ 0.20 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมสรรพสามิต โทร. 02 241 5600 ต่อ 535501
2.3 มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ออกไปอีก 5 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569
– ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ รวมทั้งผ่อนปรนการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่มิใช่สถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569
– ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดเหลืออัตราร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569
นอกจากนี้ เพิ่มเติมนิยามเจ้าหนี้อื่นให้รวมถึงบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้มากยิ่งขึ้น ดังนี้ (1) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน (2) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน และ (3) บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินอื่นซึ่งเข้าร่วมและดำเนินการตามโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3509 3513 3548 3529
3. มาตรการการเงิน ได้แก่ โครงการของขวัญปีใหม่ปี 2565 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 25,000 ล้านบาท การคืนเงินและรางวัลพิเศษรวม 1,335 ล้านบาท การลดอัตราดอกเบี้ยรวม 4,700 ล้านบาท ส่วนลดค่าบริการและส่วนลดค่างวดสูงสุด รวม 7.43 ล้านบาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
🏦ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือ 1115
🏦ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555
🏦ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
🏦ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือ 1357
🏦ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 271 3700 หรือสายด่วน Hotline 02 037 6099
🏦ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 264 3345 หรือ 1302
🏦บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999
📌 กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 สำหรับคนไทยทุกคน
กรมธนารักษ์เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ พิพิธบางลำพู พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา และพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ระหว่างวันที่ 4 – 15 มกราคม 2565
2. มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ปี 2565 สำหรับประชาชน โดยกรมธนารักษ์ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุ ดังนี้
(1) ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าปี พ.ศ. 2565 (ไม่รวมค่าเช่าช่วง) สำหรับผู้เช่าเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประกอบการเกษตร โดยผู้เช่าที่ได้รับสิทธิยกเว้นดังกล่าว จะต้องเป็นผู้เช่าชั้นดี ไม่มีภาระค่าเช่าค้างกับกรมธนารักษ์ ทั้งนี้ หากผู้เช่าได้ชำระค่าเช่าปี พ.ศ. 2565 แล้ว ให้ผลักค่าเช่า ปี พ.ศ. 2565 ไปเป็นค่าเช่า ปี พ.ศ. 2566 แทน สำหรับผู้เช่าที่มีภาระค่าเช่าค้างชำระกับกรมธนารักษ์และมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ต้องดำเนินการชำระค่าเช่าค้างให้ครบถ้วน ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระตามสัญญาที่กำหนดไว้
(2) ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่า 3 เดือน (ไม่รวมค่าเช่าช่วง) ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2565 สำหรับผู้เช่าอาคารราชพัสดุและเพื่อประโยชน์อย่างอื่น โดยให้ผู้เช่าที่ประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวยื่นคำร้องต่อกองบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานครและสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 76 พื้นที่ เพื่อพิจารณาอนุมัติสำหรับผู้เช่าที่มีภาระค่าเช่าค้างชำระกับกรมธนารักษ์และมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ต้องดำเนินการชำระค่าเช่าค้างให้ครบถ้วนภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระตามสัญญาที่กำหนดไว้
(3) สำหรับผู้เช่าประเภทอื่น นอกเหนือจากข้อ (1) และข้อ (2) หากประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการขอให้ยื่นหนังสือและชี้แจงเหตุผลความจำเป็น พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รายละเอียดผลประกอบการย้อนหลัง (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2564) และอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของกรมธนารักษ์เป็นรายกรณี
ทั้งนี้ ผู้เช่าต้องแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565
ติดต่อกรมธนารักษ์ โทร. 02 298 6444
3. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นส่งความสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดให้มีการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นส่งความสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 17 – 31 มกราคม 2565 โดยจำหน่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ติดต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 271 7999 ต่อ 5809
4. โครงการ “คริปโทศาสตร์ รู้ได้ในคลิกเดียว”
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จัดทำศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล บนเว็บไซต์ www.smarttoinvest.com โดยเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9597
5. โครงการ “การระดมทุนของ SMEs/Startup ผ่อนคลาย ไม่มีค่าธรรมเนียม”
สำนักงาน ก.ล.ต. สนับสนุนการระดมทุนของ SMEs และ Startup โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตไม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน รวมทั้งยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9597
6. โครงการ “การยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการออกตราสารเพื่อความยั่งยืนในตลาดทุน”
สำนักงาน ก.ล.ต. สนับสนุน sustainable finance แก่ผู้ออกตราสารหนี้ในกลุ่มความยั่งยืนที่มีภาระและต้นทุนมากกว่าการออกตราสารหนี้ทั่วไป โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตและค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสำหรับการเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond)
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9597
7. โครงการ “การสนับสนุนค่าใช้จ่ายการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์”
สำนักงาน ก.ล.ต. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทวนสอบเพื่อสร้างแรงจูงใจและลดภาระให้แก่บริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (บริษัท IPO) โดยการลดหย่อนค่าธรรมเนียมสำหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีรายชื่อผู้ทวนสอบ/ผู้ให้การรับรองข้อมูลก๊าซเรือนกระจกในแบบ 56-1 One Report และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) สำหรับค่าทวนสอบตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9597
8. โครงการ “การลดค่าธรรมเนียมคำขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนสำหรับผู้สอบบัญชีรายใหม่ที่สังกัดสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน”
สำนักงาน ก.ล.ต. ปรับลดค่าธรรมเนียม 50,000 บาท เหลือ 10,000 บาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ สำหรับคำขอความเห็นชอบที่ยื่นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 30 มิถุนายน 2565
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9597
9. กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุปีใหม่อุ่นใจ (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ 2565
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุปีใหม่อุ่นใจ (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ 2565 โดยมีเงื่อนไขการทำสัญญาประกันภัย ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน เบี้ยประกันภัย 10 บาท ซึ่งมีข้อตกลงคุ้มครอง ดังนี้
(1) ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกายและ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
(2) ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท
(3) ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท และ
(4) ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน กรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน) 200 บาทต่อวัน
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โทร. 02 515 3999 ต่อ 8319
10. โครงการ “พ.ร.บ. รุกทั่วไทย”
สำนักงาน คปภ. ปรารถนาที่จะส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำนวน 10,000 ฉบับ เป็นของขวัญปีใหม่ แทนความห่วงใย โดยสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อรับประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ที่ www.พรบรุกทั่วไทย.com/
ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โทร. 02 515 3999 ต่อ 8319
11. มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2565 ให้กับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะพิจารณาขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ดังนี้
(1) ลดเบี้ยปรับ ร้อยละ 100 กรณีผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มชำระหนี้ปิดบัญชี
(2) ลดเบี้ยปรับ ร้อยละ 80 กรณีผู้กู้ยืมเงินกลุ่มก่อนฟ้องคดีมาชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)
(3) ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือร้อยละ 0.5 ต่อปี กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
(4) ลดเงินต้น ร้อยละ 5 กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และปิดบัญชีในคราวเดียว และ
(5) ลดดอกเบี้ย จากเดิมร้อยละ 1 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.01 ต่อปี ให้กับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้
ติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โทร. 02 016 2695
12. กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (กรณีเสียชีวิต) จำนวน 15,000 กรมธรรม์
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) มอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (กรณีเสียชีวิต) ให้แก่สมาชิก กอช. โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,000 กรมธรรม์ และบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 10,000 กรมธรรม์ รวมทั้งสิ้น 15,000 กรมธรรม์ จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 – มีนาคม 2566 โดยมีเงื่อนไขการมอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (กรณีเสียชีวิต) ดังกล่าวให้แก่สมาชิก กอช. ดังนี้ (1) สมัครสมาชิกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565 และ (2) มีการออมเงินขั้นต่ำ 1,200 บาท
ติดต่อกองทุนการออมแห่งชาติ โทร. 02 049 9000 ต่อ 601-602 และ 619-620 / แอปพลิเคชัน กอช.
13. กระเป๋า shopping bag กอช. พับได้ ไม่จำกัดจำนวน
กอช. มอบกระเป๋า shopping bag กอช. พับได้ให้แก่สมาชิก กอช. โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) สมัครสมาชิกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565 และ (2) มีการออมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สำหรับสมาชิกที่ได้รับกระเป๋าดังกล่าว กอช. จะทำการจัดส่งให้สมาชิกทางไปรษณีย์ภายในเดือนมีนาคม 2565
ติดต่อกองทุนการออมแห่งชาติ โทร. 02 049 9000 ต่อ 601-602 และ 619-620 / แอปพลิเคชัน กอช.
14. โครงการ “สลาก 80”
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการขยายจุดจำหน่ายโครงการ “สลาก 80” ในปี 2565 และได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการไว้ 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ขยายในเชิงลึก เขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี เพิ่มเติม จำนวน 34 จุดจำหน่าย (จากบัญชีสำรอง ปี 2564) รวมกับของเดิมเป็น 74 จุดจำหน่าย โดยจะเริ่มจำหน่ายสลากงวดแรกในงวดวันที่ 17 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
ระยะที่ 2 ขยายจุดจำหน่ายในเชิงกว้าง โดยเปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายขยายทั่วประเทศ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนไม่เกิน 1,000 จุดจำหน่าย สำหรับผู้ที่ผ่านหลักเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้กำหนดเป็นผู้ขึ้นบัญชีสำรองตัวแทนจำหน่ายโครงการ “สลาก 80” โดยมีระยะเวลาในการขึ้นบัญชีสำรอง 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มีประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ในกรณีที่ตัวแทนจำหน่ายโครงการ “สลาก 80” รายใดสละสิทธิ์ หรือกรณีถูกตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกำหนด จะเรียกผู้ขึ้นบัญชีสำรองลำดับถัดไปของจังหวัดนั้นทดแทน เพื่อให้จำนวนของจุดจำหน่ายโครงการ “สลาก 80” ยังครบถ้วนตามจำนวนที่กำหนดต่อไป ซึ่งจะเปิดรับสมัครในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 – 24 มกราคม 2565
โดยประชาชนจะสามารถหาซื้อสลากได้ในราคา 80 บาทจากจุดจำหน่ายสลาก 80 ได้ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
ติดต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โทร. 02 528 8722
📌 กระทรวงกลาโหม
ดำเนินโครงการ “เติมความสุขให้คนไทย ตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ จากใจทหาร” ดังนี้
1. กิจกรรมที่ดำเนินการในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 (วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 4 มกราคม 2565) ได้แก่
1.1 จัดเตรียมกำลังเตรียมพร้อม เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนและพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความมั่นคงของประเทศ (สิ้นสุดโครงการ)
1.2 จัดตั้งจุดบริการช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดจุดพักรถเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนกว่า 500 จุด ทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการ เช่น ข้อมูลการเดินทาง การบริการสุขาเคลื่อนที่ การบริการทางการแพทย์ และการบริการตรวจสภาพและซ่อมแซมยานพาหนะ (สิ้นสุดโครงการ)
1.3 จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน 6 จุด (สิ้นสุดโครงการ)
1.4 จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคราคาถูก จำนวน 80 แห่ง ภายในพื้นที่ของหน่วยทหารทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย (สิ้นสุดโครงการ)
1.5 เปิดแหล่งท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์ในเขตทหารทั่วประเทศ จำนวน 35 แห่ง โดยไม่คิดค่าบริการ (สิ้นสุดโครงการ)
1.6 ให้บริการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวทางศาสตร์พระราชา จำนวน 30 แห่ง ภายในพื้นที่ของหน่วยทหารทั่วประเทศ (สิ้นสุดโครงการ)
2. กิจกรรมที่ดำเนินการตลอดห้วง พ.ศ. 2565 ได้แก่
2.1 จัดตั้งจุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชน ของสถานพยาบาลในสังกัด กห. หรือพื้นที่ที่เหมาะสม
2.2 จัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟูบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รวมถึงการจัดชุดช่างทั่วไปเข้าซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ต่าง ๆ
2.3 เปิดพื้นที่ภายในหน่วยทหารเป็นตลาดนัดสินค้าราคาถูกช่วยเหลือประชาชน และสนับสนุนการจำหน่ายและรับซื้อสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร
2.4 จัดจุดรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับผลกระทบจากภัยพิบัติหรือสาธารณภัยรวมทั้งความเดือดร้อนเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร
2.5 เข้มงวดกับมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมือง แรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ ยาเสพติด ผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าผิดกฎหมายตามแนวชายแดน รวมทั้งการควบคุม กำกับดูแล กิจการ/กิจกรรมของสถานประกอบการต่างๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำหนด
📌 กระทรวงพลังงาน
1. การลดและตรึงราคาพลังงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่
1.1 ตรึงราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
1.2 ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิด โดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2564 – 4 มกราคม 2565 (สิ้นสุดโครงการ)
1.3 คงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565
1.4 ขยายความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่กลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหารที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มกราคม 2565
1.5 ขยายระยะเวลาการคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกำหนดราคาขายปลีกอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565
2. แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 และสินค้าชุมชน ได้แก่
2.1 แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สิทธิละ 500 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ
2.2 แจกคูปองส่วนลดร้อยละ 50 สำหรับซื้อสินค้าชุมชน มูลค่าส่วนลดไม่เกิน 300 บาท จำนวน 28,000 สิทธิ
3. แจกคูปองส่วนลดสำหรับที่พักที่เขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สิทธิละ 2 ห้อง จำนวน 15,000 สิทธิ
📌 กระทรวงมหาดไทย
ดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด “130 ปี มหาดไทย ส่งสุข คลายทุกข์ให้ประชาชนรับปีใหม่ 2565” รวม 12 โครงการ ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
1.1 สถานธนานุบาลทั่วไทย พร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย โดยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 253 แห่ง ลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าในด้านค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น
1.1.1 เดือนธันวาคม 2564 – มกราคม 2565 ได้แก่ 1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท 2 เดือนแรก ไม่คิดดอกเบี้ย หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน และ 2) เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน
1.1.2 เดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม 2565 ได้แก่ 1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และ 2) เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน
1.2 เชฟชุมชน…เรียนฟรี มีทุนให้ โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2564 – กันยายน 2565 ได้เชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารและบุคลากรจากโรงเรียนฝึกอาชีพและศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเพพมหานคร (กทม.) มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการขอรับการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ ไม่เกินครอบครัวละ 5,000 บาทต่อปี
1.3 ติดมิเตอร์ใหม่ ลดราคา การประปาฯ จัดให้ โดยในเดือนมกราคม -กุมภาพันธ์ 2565 การประปานครหลวง (กปน.) ลดค่าติดตั้งประปาใหม่สูงสุดร้อยละ 20 สำหรับผู้ใช้น้ำรายใหม่ประเภทที่พักอาศัย (R1) ในพื้นที่ให้บริการของ กปน. และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ลดค่าติดตั้งประปาใหม่ร้อยละ 10 สำหรับผู้ใช้น้ำรายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมาตรวัดน้ำขนาด 1/2 นิ้วในพื้นที่ให้บริการของ กปภ. 234 สาขาทั่วประเทศ เฉพาะส่วนเหมาจ่ายที่มีระยะห่างจากท่อเมนจ่ายน้ำประปาไม่เกิน 10 เมตร (ไม่รวมส่วนวางท่อภายในบ้าน)
1.4 มหานครสดใส ชาร์จไฟกับ กฟน. โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ติดตั้งหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (MEA EV) ในพื้นที่สาธารณะ ทั่วเขตจำหน่ายของ กฟน. (กทม. จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ) จำนวน 100 หัวชาร์จ ภายในเดือนธันวาคม 2565
1.5 ของถูก ขายฟรี ของดี พาส่งออก โดยพัฒนาช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรเพื่อให้ประชาชนทั่วไป เกษตรกร และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนมีพื้นที่และช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
2. ด้านพัฒนาบริการดิจิทัล จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
2.1 “DOPA Citizen Service” บริการวิถี..ใหม่ ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว โดยจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์มที่รวบรวมการให้บริการประชาชนแบบออนไลน์ทั้งหมดของกรมการปกครอง มท. ไว้ในช่องทางเดียว โดยประชาชนสามารถขอรับบริการได้ทั้งทางเว็บไซต์ https://citizenservice.dopa.go.th/#/ และแอปพลิเคชัน DOPA Citizen Service พร้อมทั้งมีระบบติดตามและแจ้งเตือนสถานะการอนุมัติ/อนุญาตให้แก่ผู้ขอรับบริการด้วย ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป
2.2 คนกรุงสบาย จดทะเบียนที่ดินออนไลน์ใกล้บ้าน โดยพัฒนาการให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินในพื้นที่ กทม. และสาขา รวม 17 แห่ง ให้สามารถดำเนินการต่างสำนักงานได้
2.3 Click ชุมชน…เรียนรู้ ดู เที่ยว ทั่วไทย เป็นแพลตฟอร์มบริการที่รวบรวมข้อมูล เช่น ข้อมูลชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) แหล่งทุนชุมชน ความรู้ชุมชน การสร้างอาชีพ และการสร้างรายได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการพัฒนาชุมชนได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
2.4 ผังเมือง delivery โดยพัฒนาระบบตรวจสอบผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองในรูปแบบแอปพลิเคชันชื่อ “Landuse Plan” เพื่อเป็นช่องทางการสืบค้นข้อมูลผังสีด้วยการแสดงข้อมูลผ่านระบบแผนที่ออนไลน์ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบสีผังเมืองของที่ดินหรือทำเลที่ตั้งบ้าน เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนาและราคาที่ดินของตนเอง
3. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
3.1 มหาดไทยสูบส่งน้ำ ส่งสุขคลายทุกข์ คลายแล้ง โดยศูนย์ป้องกันและบรรทาสาธารณภัย เขต 1 – 18 ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากไปกักเก็บในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำเหลือน้อยหรือขาดแคลนน้ำ รวมถึงใช้เร่งระบายน้ำในพื้นที่ประสบอุทกภัย
3.2 ขยายเขต 10 วัน ทันใจกับไฟฟ้าภูมิภาค โดยยกระดับการให้บริการในการขอติดตั้งมิเตอร์แรงต่ำขนาดไม่เกิน 30 แอมป์ ร่วมกับงานขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำระยะทางไม่เกิน 140 เมตร แบบ One Touch Service ภายใน 10 วันทำการ โดยมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้าและไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน กำหนดระยะเวลาให้บริการที่ชัดเจน และลดภาระค่าใช้จ่าย
3.3 สนามปันสุข ดำเนินโครงการ “สนามปันสุข” ใน 23 พื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเพื่อออกกำลังกายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 10 เดือน (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 – กันยายน 2565)
📌 กระทรวงวัฒนธรรม
จัดทำโครงการ “ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์” จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล เช่น กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีเสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่ (ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565) กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในต่างประเทศ และผลิตสื่อสวดมนต์ข้ามปี (สิ้นสุดโครงการ)
2. กิจกรรมเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เช่น เปิดให้เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติทุกแห่งเป็นกรณีพิเศษ โดยงดเก็บค่าเข้าชม ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 – 3 มกราคม 2565 เปิดฉายภาพยนตร์ทรงคุณค่าของไทยและต่างประเทศ ณ หอภาพยนตร์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (สิ้นสุดโครงการ)
3. กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ส่งความสุขแบบไทย เช่น การจัดงานกาชาดประจำปี 2564 ในรูปแบบแพลตฟอร์มงานกาชาดออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “ประสบการณ์สนุก สร้างสุขทุกมิติ Fun(D) FairxSharing” ระหว่างวันที่ 14 – 27 ธันวาคม 2564 (สิ้นสุดโครงการ)
4. กิจกรรมท่องเที่ยววัฒนธรรม ท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนอัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในงาน “เที่ยวทั่วไทย สไตล์พรีเมียม”ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 23 – 26 ธันวาคม 2564 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วประเทศ และจัดทำแอปพลิเคชัน “เที่ยวเท่ ๆ เสน่ห์เมืองไทย” เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยกระดับการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว (สิ้นสุดโครงการ)
📌 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
แผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบที่สมควรจะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน ดังนี้
1. ด้านท่องเที่ยว
1.1 การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์โครงการทัวร์เที่ยวไทย และเพิ่มจำนวนห้องพักโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
– ขยายเวลาการใช้สิทธิ์โครงการทัวร์เที่ยวไทยจากสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2565 เป็นวันที่ 30 เมษายน 2565
– เพิ่มจำนวนห้องพักโครงการเราเที่ยวด้วยกัน จำนวน 2 ล้านห้อง สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 เมษายน 2565
1.2 การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ประจำปี 2565
– การจัดกิจกรรมไฮไลท์ในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย การประดับตกแต่งไฟสวยงาม จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีจากศิลปินที่มีชื่อเสียง และการแสดงพลุในช่วงนับ ถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565
– การจัดงานในพื้นที่ 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย
1) Amazing Thailand Countdown 2022 – Amazing New Chapters
– วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ (หอคำหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (สิ้นสุดโครงการ)
– วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ หาดแหลมเจริญ จังหวัดระยอง (สิ้นสุดโครงการ)
– วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมา (สิ้นสุดโครงการ)
– วันที่ 27 – 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานหน้าวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สิ้นสุดโครงการ)
– วันที่ 31 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565 ณ บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.10 ณ หาดปลายสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต (สิ้นสุดโครงการ)
2) Amazing Thailand Countdown 2022 วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร (สิ้นสุดโครงการ)
3) Centralworld Bangkok Countdown 2022 วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร (สิ้นสุดโครงการ)
4) Ratchaprasong Lighting 2022 วันที่ 9 ธันวาคม 2564 – 9 มกราคม 2565 ณ บริเวณทางเชื่อมสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ และ ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร
5) กิจกรรม “ประเพณีขึ้นปีใหม่ 2565” วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565 ณ หอโหวด 101 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด (สิ้นสุดโครงการ)
6) เทศกาลอ่าวนางบีชเฟสติวัล กระบี่ เคาท์ดาว 2565 วันที่ 30 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565 ณ บริเวณอ่าวนางแลนมาร์ค จังหวัดกระบี่ (สิ้นสุดโครงการ)
7) Hua Hin Beach Countdown 2022 วันที่ 25 ธันวาคม 2564 – 10 มกราคม 2565 ณ ริมหาดบริเวณโรงแรม Intercontinental Hua Hin Resort และสวนน้ำวานา นาวา วอเตอร์จังเกิ้ล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8) Amazing Night Sukhothai Countdown 2022 วันที่ 29 – 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณวัดมหาธาตุ และดงตาล อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย (สิ้นสุดโครงการ)
1.3 การยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ดำเนินการโดย กรมการท่องเที่ยว
– อยู่ระหว่างเสนอร่างกฎกระทรวงการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. … ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับ ในปีใหม่ พ.ศ. 2565 นี้ โดยจะเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 2,000 บาท/ใบอนุญาต ให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นระยะเวลา 2 ปี และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ จำนวน 200 บาท/ใบอนุญาต ให้กับมัคคุเทศก์ เป็นระยะเวลา 2 ปี
1.4 การแจกจ่ายชุดตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จำนวน 7,000 ชุด ดำเนินการโดย กรมการท่องเที่ยว
– ได้ประสานงานบูรณาการกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับมอบชุดตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK) มาเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว จำนวน 7,000 ชุด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานและเปิดรับลงทะเบียนเพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
1.5 การส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Homestay)
– พัฒนาต้นแบบโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Homestay) ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานพัฒนาโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน โดยปัจจุบันมีโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 11 แห่ง
1.6 การส่งเสริมการจัดกิจกรรมค่ายพักแรกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน (Camping ในชุมชน)
– จัดทำ “หลักเกณฑ์คุณภาพการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม (Camping) ในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท่องเที่ยว โฮมสเตย์ต่างๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถตอบสนองความนิยมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสู่ “Camping ชุมชน” จำนวน 6 ชุมชน จากทั่วประเทศ
1.7 การดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ดำเนินการโดย กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว
– การดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และวันปีใหม่ ประจำปี 2565 เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราป้องกันและปราบปรามคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ของนักท่องเที่ยวและประชาชนที่อาจเกิดขึ้น การกวดขัน จับกุมผู้เล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด และปล่อยโคมลอย ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เป็นต้น
– การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินนักท่องเที่ยวผ่านแอพพลิเคชัน Tourist Police I LERT U เพื่อรองรับการแจ้งเหตุฉุกเฉินของนักท่องเที่ยว และเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที สามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ระงับเหตุ และติดตามจับกุมคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว
– การปล่อยแถวสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันคริสมาสต์ และปีใหม่ 2565 บริเวณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์การป้องกันตนจากโรคโควิด-19
1.8 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
– กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในงาน “OTOP ไทยสู้ภัยโควิด-19” ระหว่างวันที่ 19 – 26 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 9 ชุมชน (สิ้นสุดโครงการ)
– โครงการคิดถึงชุมชน แคมเปญ “CBT Memories Photo Contest” มีรางวัลเป็นแพคเกจท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 3 รางวัล โดยจะประกาศผลพร้อมมอบรางวัลในช่วงเดือน มกราคม 2565 เพื่อให้ผู้รับรางวัลเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 (สิ้นสุดโครงการ)
– การจัดงาน “เดินกินถิ่นนาเกลือ (Walk & Eat Festival) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม 2564 – 30 มกราคม 2565 (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์) บริเวณถนนคนเดินนาเกลือ จังหวัดชลบุรี
– การจัดกิจกรรม “ตักบาตรรับอรุณ ชะลอมบุญ ปีใหม่ไทย” และจัดกิจกรรม ในรูปแบบออนไลน์ ณ เกาะกลางน้ำ วัดตระพังทอง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
– การจัดกิจกรรม Creative Lighting “เสวนาใต้แสงจันทร์ การแสดงใต้แสงดาว” ชมความงามของกำแพงเมืองน่านและบรรยากาศทุ่งดอกไม้ แสงสียามค่ำคืน ระหว่างวันที่ 7 – 8 มกราคม 2565 ณ บริเวณกำแพงเมือง – คูเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
2. ด้านกีฬา
2.1 การปรับลดอัตราค่าบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ที่ตั้งอยู่ในอาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติและศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดยกรมพลศึกษา
2.2 การส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิค โดยให้บริการนำเต้นให้แก่ประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดำเนินการโดย กรมพลศึกษา
2.3 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อมวลชน ดำเนินการโดยกรมพลศึกษา
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา 878 อำเภอ ผ่านเจ้าหน้าที่พลศึกษา และเครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดเดือนธันวาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 ประกอบด้วย แอโรบิก 552 อำเภอ เดิน – วิ่ง 143 อำเภอ ฟุตบอล 96 อำเภอ บาสโลบ 34 อำเภอ กระโดดเชือก 9 อำเภอ ปั่นจักรยาน 7 อำเภอ ส่งเสริมทักษะทางกีฬา เช่น วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ เปตอง เป็นต้น 37 อำเภอ
2.4 กิจกรรมเยาวชนต้นกล้านันทนาการ
– จัดกิจกรรมนันทนาการเยาวชนต้นกล้านันทนาการในส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยประสานงานร่วมมือกับเครือข่ายโรงเรียน ชมรมต่าง ๆ เพื่อเฟ้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนันทนาการ อาทิ การร้องเพลง การเต้น การรำ การทำอาหาร มายากล เดาะบอล เดินสามขา และอื่นๆ มาแสดงออกความสามารถภายในงานเยาวชนต้นกล้านันทนาการของจังหวัด ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 ตามสถานที่ที่เหมาะสม เช่น ลานอเนกประสงค์ วัด สวนสาธารณะ ลานอเนกประสงค์ในชุมชน สถานศึกษา หรือศูนย์การค้าในพื้นที่ เป็นต้น อีกทั้งจะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละภาค อย่างน้อยภาคละ 2 กิจกรรม เข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนต้นกล้าในส่วนกลาง
2.5 การให้บริการอาคารและสถานที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
– การให้บริการอาคารและสถานที่ในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน ภายในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 17 วิทยาเขต และ 13 โรงเรียนกีฬา ทั่วประเทศ (ฟรี) ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2565
2.6 การขยายเวลาการเปิดให้บริการ (ฟรี) ของศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาจังหวัดช่วงปีใหม่ ดำเนินการโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย
– ขยายเวลาการเปิดให้บริการ (ฟรี) ระหว่างวันที่ 20 – 29 ธันวาคม 2564 เวลา 05.00 – 22.00 น. ประกอบด้วยการให้บริการเปิดไฟส่องสว่างลานกีฬากลางแจ้ง อุปกรณ์กีฬาสำหรับการฝึกซ้อมสนามกีฬาต่าง ๆ และผู้ฝึกสอน โค้ช ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติภาค 1 – 5 และศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 6 ศูนย์ และสนามกีฬาจังหวัดที่การกีฬาแห่งประเทศไทยดูแล จำนวน 22 จังหวัด (สิ้นสุดโครงการ)
2.7 การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ออกกำลังกาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ การกีฬา พร้อมให้บริการ “Safe Stadium” ดำเนินการโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย
– แนะนำการออกกำลังกาย ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา พร้อมให้บริการ “Safe Stadium” เพื่อให้ความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม ระหว่างวันที่ 20 – 29 ธันวาคม 2564 ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาจังหวัดที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ดูแลทั่วประเทศ (สิ้นสุดโครงการ)
📌กระทรวงอุตสาหกรรม
1. อำนวยความสะดวกและลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องจักร และค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
2. เสริมสภาพคล่องการดำเนินธุรกิจ
2.1 ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นนิติบุคคลและเป็นกลุ่มธุรกิจเป้าหมายให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น
2.2 ดำเนินโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเปย์ (DIProm Pay) สำหรับ SMEs ทุกสาขาอุตสาหกรรมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อ รักษาสภาพการจ้างงาน และทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
2.3 จัดทำแคมเปญ “SMES Happy” โดยฟรีค่าประเมินราคาหลักประกันเมื่อยื่นกู้ระหว่างวันที่ 3 มกราคม – 31 มีนาคม 2565 ใน 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท
3. ยกระดับผู้ประกอบการ
3.1 ให้คำปรึกษาแนะนำและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ฉลาก สติกเกอร์ พร้อมทั้งจัดทำต้นแบบให้ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
3.2 จัดทำคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่วิสาหกิจชุมชน
3.3 ให้ SMEs และวิสาหกิจชุมชนทุกสาขาอุตสาหกรรมทดลองใช้โปรแกรมจากผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมทั้งหมด 34 โปรแกรม เช่น ด้านการบริหาร ด้านการตลาด และด้านการบริการลูกค้า
4. ดูแลเกษตรกรและประชาชน
4.1 จัดหาเครื่องสางใบอ้อย เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถยืมใช้ในการตัดอ้อยสด จำนวน 288 เครื่อง
4.2 จัดมหกรรมของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชนประกอบด้วยร้านค้า 60 ร้านค้า
ระหว่างวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2564 ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะชิตี้ จังหวัดชลบุรี (สิ้นสุดโครงการ)
4.3 จัดงาน “DIPROM MOTOR OUTLET” มหกรรมแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องจักรกลการเกษตรในราคาพิเศษ ระหว่างวันที่ 4 – 13 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง
📌 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
การรวบรวมงานบริการของรัฐที่มีช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ให้แก่ประชาชน ในหัวข้อ “e-Sevice ภาครัฐฉับไว ส่งความสุขทั่วไทย เพื่อคนไทยทุกคน” รวม 325 งานบริการ โดยจัดทำแค็ตตาล็อกที่ประชาชนสามารถสแกน QR Code หรือกดลิงก์เพื่อเข้าใช้บริการออนไลน์ได้ทันที โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มงานบริการฯ
1. งานบริการสำหรับประชาชน 9 ประเภท รวม 131 งานบริการ ดังนี้
1.1 ขนส่ง คมนาคม และการเดินทาง เช่น 1) เสียภาษีรถยนต์ 2) ขอเลขทะเบียนรถ 3) การแจ้งอยู่ต่อในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน (ตม. 47) และ 4) ขอความช่วยเหลือคนไทยในต่างแดน
1.2 ประกันสังคม และสวัสดิการภาครัฐ เช่น 1) ตรวจสอบการคืนสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 2) ระบบตรวจสอบสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล
1.3 ที่ดิน ภาษี และธนาคาร เช่น 1) ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน 2) สืบค้นราคาประเมินที่ดิน 3) e-Excise บริการอิเล็กทรอนิกส์ จุดเดียว 4) ยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 5) แจ้งความต้องการที่อยู่อาศัย และ 6) ออมสิน Internet Banking
1.4 สาธารณูปโภค เช่น 1) ชำระค่าน้ำในเขต กทม. จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ 2) ชำระค่าน้ำในเขตต่างจังหวัด 3) ขอใช้ไฟฟ้าในเขต กทม. จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ 4) ชำระค่าไฟฟ้าในเขตต่างจังหวัด และ 5) ตรวจสอบสิทธิ Free Wifi
1.5 การเกษตรและสิ่งแวดล้อม เช่น 1) ลงทะเบียนไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ 2) ขอบริการฝนหลวง 3) ขอบริการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน 4) ขอใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 5) ระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัย และ 6) ขอใช้ที่ป่าชายเลน
1.6 การทำงานและส่งเสริมอาชีพ เช่น 1) ระบบจัดหางานทั้งผู้สมัครงานและผู้ว่าจ้าง 2) ขึ้นทะเบียนไกด์ 3) ทำบัตรสื่อมวลชน 4) หนังสือคนประจำเรือ และ 5) ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40
1.7 การสอบ การศึกษา และการฝึกอบรม ได้แก่ 1) การรับสมัครสอบภาค ก 2) ขอผลสอบ O-net GAT PAT 3) ยื่นคำร้องขอเทียบวุฒิการศึกษา 4) ระบบรับสมัครนักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา และ 5) ระบบค้นหาวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์
1.8 ทะเบียนราษฎร และตรวจสอบข้อมูล เช่น 1) ตรวจสอบชื่อสกุลเบื้องต้น 2) ขอเงินช่วยเหลือทางคดี 3) ยื่นคำเสนอข้อพิพาท 4) กำหนดตรวจสอบนัดรายงานตัวออนไลน์ และ 5) ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
1.9 สุขภาพ ได้แก่ คิวออนไลน์ (เฉพาะผู้ป่วยเก่า) และขอตรวจพิสูจน์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ และขอรับศพ
2. งานบริการสำหรับผู้ประกอบการ 4 ประเภท รวม 194 งานบริการ
2.1 ขออนุญาต และจดทะเบียน เช่น 1) จดทะเบียนนิติบุคคล 2) ลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐ 3) จดทะเบียนเครื่องจักร 4) ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ สุขภาพ (ยา) และ 5) ขอรับสิทธิ์ส่งเสริมผู้ประกอบการสมุนไพร
2.2 การเงิน ภาษี และสิทธิประโยชน์ เช่น 1) นำส่งงบการเงิน (e-Filing) 2) กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน (สินเชื่อสำหรับ อุตสาหกรรมในครัวเรือน) 3) ยื่นภาษีนิติบุคคล 4) ขอยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และ 5) ระบบขอรับบริการด้านภาษี
📌 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.)
1. โครงการเร่งรัดการดำเนินงานกลั่นกรองภาพผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศเพื่อประกอบการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ เป็นการเร่งรัดดำเนินการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ จำนวน 239 ระวาง ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศของคณะทำงานกลั่นกรองผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศให้แล้วเสร็จ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จำนวน 5,696 ราย 5,707 แปลง เนื้อที่ประมาณ 377,006-2-99.30 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
2. การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เร่งดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 400,000 ไร่ จัดคนลงพื้นที่ที่เห็นชอบแล้ว จำนวน 10,000 ราย และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดิน จำนวน 9,500 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
📌 กระทรวงแรงงาน
ขอมอบของขวัญปีใหม่ ปี 2565 ให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ฟรี ดอกเบี้ย 0% นาน 12 เดือน สำหรับการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
กรมการจัดหางาน มีเป้าหมายผู้รับงานไปทำที่บ้านทั่วประเทศ กว่า 6,000 คน ลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 150,000 บาท มีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้
1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0 ต่อปี ในงวดที่ 1 – 12 โดยไม่ปลอดเงินต้น และงวดที่ 13 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญาคิดอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
2) ยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทำสัญญากู้ยืมเงินภายใน 30 กันยายน 2565
3) ผู้รับงานไปทำที่บ้านรายบุคคลยื่นคำขอกู้ไม่เกิน 50,000 บาท รายกลุ่มบุคคลกู้ไม่เกิน 300,000 บาท ผู้สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
2. DSD Service
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้บริการตรวจเช็ครถก่อนเดินทาง 12 รายการ ระหว่างวันที่ 15 – 30 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งสิ้น 77 แห่ง ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายค่าตรวจเช็คไม่รวมค่าวัสดุสิ้นเปลือง อาทิ น้ำมันเครื่อง น้ำกลั่น (สิ้นสุดโครงการ)
3. DSD Online Training
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับภาคีเครือข่ายได้รวบรวมคลิป VDO เพื่อจัดทำเนื้อหาสาระ Content ให้บริการฝึกทักษะในรูปแบบ Online รองรับการพัฒนาทักษะตอบโจทย์ความต้องการ ทุกที่ ทุกเวลาตามอัธยาศัย โดยประชาชนสามารถเข้าสู่ระบบการฝึกอบรม ผ่าน QR CODE โดยมีคลิปที่แนะนำสำหรับการฝึกทักษะในช่วงเทศกาลปีใหม่ 4 หัวข้อ ระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. 2564 – 31 มกราคม 2565 ได้แก่
1) การทำการ์ดอวยพรออนไลน์
2) ขับขี่ปลอดภัย
3) การซ่อมบำรุงเบื้องต้นก่อนเดินทาง
4) 10 เมนูอาหารไทยยอดนิยม
4. เพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า
กรณีลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างหรือค้างจ่าย เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้าง เป็นเงินประมาณ 83.14 ล้านบาท (เฉพาะคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานที่ออกระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565)
1) กรณีค่าชดเชย
(1.1) จากเดิม 30 เท่า เป็น 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 120 วัน แต่ไม่ครบ 3 ปี
(1.2) จากเดิม 50 เท่า เป็น 80 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี
(1.3) จากเดิม 70 เท่า เป็น 100 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป
2) กรณีเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยจากเดิม 60 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
5. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน วงเงินโครงการ 50 ล้านบาท
ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและสหกรณ์ออมทรัพย์ในรัฐวิสาหกิจ จำนวน 594 แห่ง นำไปให้บริการเงินกู้แก่แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 560,476 คน เพื่อนำไปลงทุนประกอบอาชีพเสริม โดยสหกรณ์คิดดอกเบี้ย เงินกู้จากสมาชิกลดลงจากอัตราดอกเบี้ยปกติ ประเภทสามัญ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.25 ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดสหกรณ์ละ 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 3 ปี สมาชิกกู้ได้ไม่เกินคนละ 100,000 บาท ยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ผ่านระบบ e-service
6. โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
การให้บริการตรวจวัดระดับแสง เสียง และความร้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ให้แก่สถานประกอบกิจการที่สนใจ เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถดำเนินงานด้านความปลอดภัยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการให้คำแนะนำตามหลักวิชาการกับสถานประกอบกิจการในการดำเนินงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละออง สารระเหยง่าย และโลหะหนัก เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565
7. ลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ทางเลือกที่ 1 จากอัตราเงินสมทบเดิม 70 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 42 บาทต่อเดือน (สิทธิประโยชน์ 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย)
ทางเลือกที่ 2 จากอัตราเงินสมทบเดิม 100 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 60 บาทต่อเดือน
ทางเลือกที่ 3 จากอัตราเงินสมทบเดิม 300 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 180 บาทต่อเดือน
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราเงินสมทบ จำนวน 10.57 ล้านคน รวมวงเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 1,408.56 ล้านบาท
8. ลดขั้นตอนอนุมัติสิทธิ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป
สำนักงานประกันสังคมปรับรูปแบบบริการขออนุมัติสิทธิฟอกเลือด โดยการพัฒนาระบบลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตกรณีฟอกเลือดร่วมกับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) จากเดิม ผู้ประกันตนรายใหม่ไปรักษาที่สถานพยาบาลต้องสำรองจ่ายไปก่อนและไปยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม รอผลการอนุมัติใช้ระยะเวลารอคอยนาน (สูงสุดใช้ระยะเวลา 3 เดือน) เปลี่ยนเป็น ผู้ประกันตนรายใหม่ไปยื่นที่สถานพยาบาลที่รักษาได้ทันที ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกรวดเร็ว (One Stop Service) ลดเอกสาร ลดขั้นตอน
สำหรับผู้ประกันตนไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่.และมารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยเดือนละ 240 คน (อัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง)
– ระยะเวลา 1 เดือน ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย 18,000 บาทต่อคน (เฉลี่ยมารับบริการคนละ 12 ครั้งต่อเดือน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4.32 ล้านบาท
– ระยะเวลาสูงสุด 3 เดือน ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย 54,000 บาทต่อคน (เฉลี่ยมารับบริการคนละ 36 ครั้งต่อเดือน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12.96 ล้านบาท
9. กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ทุพพลภาพ ทุกมาตรา (มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40)
📌 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร ปี พ.ศ. 2565 ดังนี้
1. เพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย :
1.1 เปิดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรให้ประชาชนเข้าชมฟรี/ลดค่าบริการในช่วงเทศกาล : ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 56,666 คน
ประกอบด้วย เปิดศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต้อนรับนักท่องเที่ยว, เปิดสถานที่ให้เกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้า, เปิดให้เยี่ยมชมนิทรรศการวันดินโลก, ชมสวนดอกไม้ และทุ่งทานตะวัน, ลดค่าบริการเข้าชมฟาร์มโคนมไทย – เดนมาร์ค จังหวัดสระบุรี, เปิดพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ประชาชนเข้าชม, เปิดแหล่งท่องเที่ยวสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประชาชนเข้าชม, เปิดสถานที่ศูนย์วิจัยการเกษตรให้เที่ยวชม จำนวน 12 แห่ง, แหล่งท่องเที่ยวด้านปศุสัตว์ จำนวน 6 แห่ง, แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 95 แห่ง
1.2) เปิดสถานที่ราชการ ปรับภูมิทัศน์รองรับนักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมช่วงเทศกาล และแจกพันธุ์ไม้ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 116,450 คน
ตัวอย่างจุดบริการ เช่น ศูนย์วิจัยข้าว 3 แห่ง, ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 2 แห่ง, โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ 1 แห่ง, โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 6 แห่ง, อ่างเก็บน้ำ 10 แห่ง, โครงการชลประทาน 3 แห่ง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 39 แห่ง, สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปากช่อง คทช. จำกัด จังหวัดนครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ 2 แห่ง, สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชกรุงเทพมหานคร, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน, สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขต 4 แห่ง
2. เสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,445,969 คน
จัดหาสินค้าดีมีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน และเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรราคาพิเศษ
จำหน่ายชุดของขวัญด้วยสินค้าจากงานวิจัย (นวัตกรรมอาหาร และนวัตกรรมสุขภาพและความงาม) จากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน บริการ ณ จุดจำหน่ายของหน่วยงาน (ในพื้นที่ส่วนกลาง และภูมิภาค) และจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ เช่น www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com | www.ortorkor.com | www.dgtfarm.com | www.coopshopth.com เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 – มกราคม 2565
📌 สำนักนายกรัฐมนตรี
1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอมอบบริการพิเศษเพิ่มความสุขและรอยยิ้มให้ประชาชน ในการรับแจ้งเหตุ แจ้งเบาะแส เรื่องร้องทุกข์ทั่วไป ผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 www.1111.go.th และ Application PSC 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง และจะประสานเร่งรัดติดตามผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้ข้อยุติโดยเร็วตลอดปี 2565
2. กรมประชาสัมพันธ์ ขอมอบบริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมทั้งข่าวสารเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ของส่วนราชการทางสถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทศไทย และขอมอบความสุขแก่ประชาชนผ่านรายการพิเศษ เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
3. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับผู้ประกอบการออนไลน์ ลดค่าครองชีพของประชาชน โดยจะมอบคูปองส่วนลดในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ให้แก่ประชาชน ระหว่างวันที่ 1 – 31 มกราคม 2565
ที่มา : มติ ครม. ต่างๆ รวมถึงข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ ที่ ร่วมโครงการ
และขอบคุณข้อมูลที่รวบรวมโดย : https://www.sanook.com/news/8492426/