Good News

29 มกราคม 2021

‘เราชนะ’ VS ‘คนละครึ่ง’ เงื่อนไขต่างกันอย่างไร?

‘เราชนะ’ VS ‘คนละครึ่ง’ เงื่อนไขต่างกันอย่างไร?

 

1.ผู้มีสิทธิในมาตรการ

“เราชนะ”

– กลุ่มที่ 1 ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน

 

– กลุ่มที่ 2** ผู้ได้สิทธิมาตรการ “คนละครึ่ง” หรือ “เราเที่ยวด้วยกัน” มาก่อน และมีการยืนยันตัวตนในแอปพลิเคชันเป๋าตังภายใน 27 ม.ค 2564

 

– กลุ่มที่ 3** ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิจากมาตรการใดๆ เช่น อาชีพอิสระ เกษตรกร ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40

 

**กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ต้องมีคุณสมบัติมาตรการเราชนะ 7 ข้อ

 

เงื่อนไขสำคัญคุณสมบัติมาตรการ “เราชนะ” 7 ข้อ ได้แก่

 

1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

 

2.ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม

 

3.ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

 

4.ไม่เป็นข้าราชการการเมือง

 

5.ไม่เป็นผู้ที่ได้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ

 

6.รายได้พึงประเมินในเรื่องของการเสียภาษี ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 300,000 บาท

 

7.เงินฝากในทุกบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

 

“คนละครึ่ง”

– ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน และเป็นบุคคลสัญชาติไทย

 

– อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน

 

– ไม่เคยได้รับสิทธิมาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน

 

 

2.วิธีการเข้าร่วมมาตรการ

“เราชนะ”

– กลุ่มที่ 1 บัตรคนจน จะได้รับสิทธิเราชนะโดยอัตโนมัติ ผ่านบัตรคนจน

 

– กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เคยได้รับสิทธิคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกัน หากผ่านคุณสมบัติทั้ง 7 ข้อแล้ว และสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิ 7,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งจะต้องกดยินยอมในแอปพลิเคชันนี้ด้วย

 

– กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ไม่เคยได้สิทธิใดๆ ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2564 ช่วงเวลา 06.00 – 23.00 น. และตรวจสอบสิทธิผ่านเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ 2564

 

“คนละครึ่ง”

ขณะนี้มาตรการคนละครึ่งดำเนินมาถึงระยะที่ 2 หรือเฟส 2 ซึ่งผ่านมาเปิดลงทะเบียน www.คนละครึ่ง.com และมีการรับสิทธิไปแล้วรวมทั้งเฟส 1 และ 2 ทั้งหมด 15 ล้านสิทธิ

 

 

3.เทียบสิทธิที่ได้รับ

“เราชนะ”

– กลุ่มที่ 1 บัตรคนจน จะได้เงินสัปดาห์ละ 675-700 บาทต่อคน เริ่มโอนเงินงวดแรก 5 กุมภาพันธ์ 2564 จ่ายเงินทุกวันศุกร์ โดยรายละเอียดแบ่งเป็น

 

1) กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินอยู่แล้ว 800 บาท/เดือน + ได้วงเงินเพิ่มจากมาตรการเราชนะอีก 675 บาท/สัปดาห์  = 2,700 บาท/คน/เดือน รวมตลอดระยะเวลาโครงการ =  5,400 บาท

 

2) กลุ่มที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทได้รับอยู่แล้ว 700/เดือน + ได้วงเงินเพิ่มอีก700 บาท/สัปดาห์  = 2,800 บาท/คน/เดือน รวมตลอดระยะเวลาโครงการ =  5,600 บาท

 

– กลุ่มที่ 2 ผู้ได้สิทธิมาตรการคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกัน ได้เงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท และจะได้รับทุกวันพฤหัสบดี จนกว่าจะครบ 7,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง โดยงวดแรกจะได้รับ 2,000 บาท (ตกเบิกหนึ่งสัปดาห์ 1,000 บาท เพราะได้ช้ากว่ากลุ่มบัตรคนจน) ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564

 

– กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ไม่เคยได้สิทธิใดๆ จะได้รับเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท ได้รับผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังทุกวันพฤหัสบดี โดยงวดแรกจะได้รับ 2,000 บาท (ตกเบิกหนึ่งสัปดาห์ 1,000 บาท เพราะได้ช้ากว่ากลุ่มบัตรคนจน) ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 จนครบกำหนด 7,000 บาท

 

“คนละครึ่ง”

ได้รับเงินตลอดทั้งมาตรการ 3,500 บาท แต่มีการกำหนดเงินคนละครึ่ง 50% จากรัฐ ไม่เกินวันละ 150 บาทต่อสิทธิ และผู้ที่ได้สิทธิต้องเติมเงินเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตังเพื่อใช้จ่ายคนละครึ่ง

 

 

4.วิธีการรับเงิน และการใช้เงิน

“เราชนะ”

–  ได้รับเงินเยียวยาผ่านทางแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

 

–  ใช้ซื้อ “สินค้า” และ “บริการ”

 

–  ใช้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งและเราชนะ ร้านธงฟ้า ผ่านแอปฯ ถุงเงินของร้านค้า ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ร้านค้าคนละครึ่ง ร้านค้าเราชนะ รถเมล์ ขสมก. รถไฟฟ้า

 

–  ไม่จำกัดจำนวนเงินที่จะใช้ในแต่ละวัน หากแต่ละสัปดาห์ใช้เงินไม่หมด ระบบจะทบให้เรื่อยๆ

 

–  สามารถใช้เงินเยียวยาที่ได้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564

 

“คนละครึ่ง”

–  ได้รับเงินเยียวยาผ่านทางแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

 

–  ใช้ซื้อ “สินค้า” อาหารและเครื่องดื่ม

 

–  ใช้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ผ่านแอปฯ ถุงเงินของร้านค้า เช่น หาบเร่ แผงลอย ร้านธงฟ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านขายสินค้าทั่วไป และกิจการ OTOP ฯลฯ

 

–  รัฐสนับสนุนไม่เกินวันละ 150 บาท หากใช้ไม่หมดรัฐทบให้

 

–  สามารถใช้เงินเยียวยาที่ได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

 

ที่มา สถานีข่าวกระทรวงการคลัง