Good News

10 มกราคม 2021

ร.พ.สนาม มีสักษณะอย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19

ร.พ.สนาม มีสักษณะอย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19 ระบาดกับการคัดกรองและดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

1. จัดตั้งระบบบริการการดูแลรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้าข่าย Pบ ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วย การให้การวินิจฉัยดูแลรักษา แบบ One Stop Services

2. สามารถรับผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ไว้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใ และให้การดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง

3. ใช้เป็นสถานที่เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ และได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาลซึ่งดูแลผู้ป่วยในภาวะเฉียบพลัน หรือวิกฤต จนดีขึ้นแล้ว

การบริหารจัดการในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

1. การเลือกสถานที่ ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ อากาศโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่อยู่ในที่ชุมชนแออัด มีสิ่งอำนวยความสะดวก

 

2. การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น รวมถึงวัสดุสำนักงาน เครื่องอุปโภคบริโภค และน้ำดื่ม เสบียง อาหาร

 

3. ระบบการดูแลการรักษาผู้ป่วย ให้เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุข

 

4. ระบบการบริหารจัดการหน่วยผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย การจัดเวร ประเมินความเพียงพอของการให้บริการ

 

5. ระบบการขนส่งต่างๆ รวมถึง ระบบการส่งต่อผู้ป่วย การขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุ อุปกรณ์ ขยะติดเชื้อ การจัดการ และการเคลื่อนย้ายศพ เป็นต้น

 

6. ระบบการเชื่อมโยง และระบบสื่อสาร เช่น ระบบเวชระเบียน การติดต่อสื่อสารทั่วไป ระหว่างโรงพยาบาลสนามกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

7. ระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ

 

8. ระบบสนับสนุน รวมถึงการจัดการด้านสาธารณูปโภค ที่พักบุคลากร โภชนาการ เครื่องปั่นไฟ เครื่องกรองน้ำ ประปาสนาม ฯลๆ

 

9. ระบบรักษาความปลอดภัย ได้แก่ บุคลากร ผู้ป่วย ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

 

10. งานสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา

 

11. การจัดระบบการสื่อสารความเสี่ยง ให้ผู้ป่วย ญาติ รวมถึง ประชาชน ให้เข้าใจตั้งแต่ก่อนจัดตั้ง และในระหว่างการระบาด

 

บุคลากรในโรงพยาบาลสนาม ประกอบด้วย
1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ บุคลากรด้านการรักษา แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น เช่น นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีแพทย์ นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติมาแล้ว ทั้งนี้อาจเป็นบุคลากรในพื้นที่ระบาดก่อน หรืออาสาสมัครที่ได้รับการอบรม เป็นต้น

 

2. บุคลากรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบหลักด้านการแพทย์ ผู้รับผิดชอบหลักด้านการพยาบาล ผู้รับผิดชอบด้านบริหารงานทั่วไป

 

3. บุคลากรสนับสนุนด้านต่างๆ ประกอบด้วยงาน

– Back office เช่น งานวชระเบียน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ งานธุรการ งานพัสดุและเวชภัณฑ์ งานการเงิน

– งานบริการด้านอื่นๆ เช่น โภชนากร งานสาธารณูปโภค งานช่างและซ่อมบำรุง งานยานพาหนะ

– งานสนับสนุนอื่นๆ เช่น งานจ่ายกลาง งานขยะ การจัดการศพ

 

 

ระบบปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนาม
1. ลงทะเบียนผู้ป่วย โดยอาสาสมัครที่ผ่านการอบรม

 

2. รอการประเมินปฐมภูมิ นักศึกษา หรืออาสาสมัคร

 

3. ประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจสัญญาณชีพ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังปอด ดูแลโดยพยาบาล และ/หรือ ผู้ช่วยเหลือคนไข้

 

4. กรณีผู้ป่วยนอกที่อาการไม่รุนแรง ชักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งการรักษา ส่งตรวจถ่ายภาพรังสี และตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดูแลโดยแพทย์และพยาบาล

 

5. การรักษาดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหายใจลำบาก ประกอบด้วยเครื่องให้ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ขณะรอเพื่อส่งต่อไปยังห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลหลัก ดูแลโดยพยาบาล แพทย์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้

 

6. กรณีผู้ป่วยใน ให้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้สารน้ำทาง เส้นเลือด ยาฉีด/กินให้ออกซิเจนโดย ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูแลโดยแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ หรืออาสาสมัคร

 

7. ตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น โดยนักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยนักเทคนิคการแพทย์ นักศึกษาเทคนิคการแพทย์

 

8. เก็บ/จ่ายยา และเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยนอก/ใน ดูแลโดยเภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร นักศึกษาเภสัช

 

9. ห้องเอกซเรย์ (option) ตรวจทางรังสีวิทยา โดยนักรังสีการแพทย์ นักศึกษารังสีการแพทย์

 

10. ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยจำหน่ายนัดตรวจติดตาม โดยบุคลากรด้านสาธารณสุขอื่นๆ อาสาสมัคร

 

11. ประชาสัมพันธ์ อาจเป็นจอ monitor ให้ทราบสถานการณ์การระบาดที่หน้าโรงพยาบาล หรือ อื่นๆ เพื่อสื่อสารกับประชาชน ดูแลโดยประชาสัมพันธ์ / IT

 

 

ที่มา แนวทางการจัดเตรียมพื้นที่กรณีมีการระบาดในวงกว้างของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : โรงพยาบาลสนาม

กลุ่มฉุกเฉินทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข